เมนู

พระวินัยปิฎก ปริวาร [มหาสงคราม] 1. โวหรันเตนชานิตัพพาทิ
ว่าด้วยการรู้อาบัติ
[371] คำว่า พึงรู้อาบัติ นั้น คือ พึงรู้อาบัติปาราชิก พึงรู้อาบัติสังฆาทิเสส
พึงรู้อาบัติถุลลัจจัย พึงรู้อาบัติปาจิตตีย์ พึงรู้อาบัติปาฏิเทสนียะ พึงรู้อาบัติทุกกฏ
พึงรู้อาบัติทุพภาสิต

ว่าด้วยการรู้นิทาน
[372] คำว่า พึงรู้นิทาน นั้น คือ พึงรู้นิทานแห่งปาราชิก 8 สิกขาบท
พึงรู้นิทานแห่งสังฆาทิเสส 23 สิกขาบท พึงรู้นิทานแห่งอนิยต 2 สิกขาบท พึงรู้
นิทานแห่งนิสสัคคีย์ 42 สิกขาบท พึงรู้นิทานแห่งปาจิตตีย์ 188 สิกขาบท พึงรู้
นิทานแห่งปาฏิเทสนียะ 12 สิกขาบท พึงรู้นิทานแห่งทุกกฏ พึงรู้นิทานแห่ง
ทุพภาสิต

ว่าด้วยการรู้อาการ
[373] คำว่า พึงรู้อาการ นั้น คือ พึงรู้สงฆ์โดยอาการ พึงรู้คณะโดยอาการ
พึงรู้บุคคลโดยอาการ พึงรู้โจทก์โดยอาการ พึงรู้จำเลยโดยอาการ
ข้อว่า พึงรู้สงฆ์โดยอาการ นั้น คือ พึงรู้สงฆ์โดยอาการอย่างนี้ว่า สงฆ์หมู่นี้
จะสามารถระงับอธิกรณ์นี้ได้โดยธรรม โดยวินัย โดยสัตถุศาสน์ หรือไม่หนอ
ข้อว่า พึงรู้คณะโดยอาการ นั้น คือ พึงรู้คณะโดยอาการอย่างนี้ว่า คณะนี้จะ
สามารถระงับอธิกรณ์นี้ได้โดยธรรม โดยวินัย โดยสัตถุศาสน์ หรือไม่หนอ
ข้อว่า พึงรู้บุคคลโดยอาการ นั้น คือ พึงรู้บุคคลโดยอาการอย่างนี้ว่า
บุคคลนี้จะสามารถระงับอธิกรณ์นี้ได้โดยธรรม โดยวินัย โดยสัตถุศาสน์ หรือไม่หนอ
ข้อว่า พึงรู้โจทก์โดยอาการ นั้น คือ พึงรู้โจทก์โดยอาการอย่างนี้ว่า ท่านผู้นี้
จะตั้งอยู่ในธรรม 5 ประการ แล้วโจทผู้อื่น หรือไม่หนอ
ข้อว่า พึงรู้จำเลยโดยอาการ นั้น คือ พึงรู้จำเลยโดยอาการอย่างนี้ว่า ท่านผู้นี้จะ
ตั้งอยู่ในธรรม 2 ข้อ คือ ให้การตามจริงและไม่โกรธ หรือไม่หนอ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 8 หน้า :555 }